วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

การออกแบบ กับ "สมัยนิยม"

การออกแบบ” (Design) มีความหมายหลายนัย มาจากภาษาลาตินว่า Designare หมายถึง การกำหนดออกมา หรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงร่าง รูปแบบ หรือ แผนผังที่ศิลปินผู้ออกแบบกำหนดขึ้นด้วยการจัดเส้น สี รูปแบบ โดยใช้หลักเกณฑ์ความงามสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นมาจากสิ่งที่ง่ายที่สุดไปจนถึง สิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่

จากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและการพัฒนาสิ่งต่างๆ จากอดีตสู่ปัจจุบัน จากปัจจุบันสู่อนาคตมีผลกระทบโดยตรงที่จะทำให้งานออกแบบมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ระบบการสื่อสาร และจรรโลงสภาพสังคมให้เห็นถึงคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์งานออกแบบที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดยตรงที่จะโน้มน้าวใจผู้รับข้อมูลกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความสนใจและยอมรับ และในขณะเดียวกันก็จะแสดงคุณค่าอื่นๆ พร้อมกันไปด้วย อิทธิของสื่อ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างมีอิทธิพลต่อการออกแบบโดยทั้งสิ้น ระบบการพิมพ์ที่มีความทันสมัยยิ่งขึ้น แต่เดิมสื่อสิ่งพิมพ์มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสื่อสารต่อเมื่อความนิยม ในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์มีมากขึ้นรูปแบบการใช้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไป มีการวาดภาพประกอบ หรือ ลวดลายเพื่อความสวยงามและสื่อความหมาย ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีส่วนช่วยในการผลิตงานทางสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

วัสดุที่แปลกใหม่และหลากหลายก็มีส่วนทำให้วงการออกแบบในด้านแฟชั่น เคลื่อนตัวไปอย่างรวดเร็ว และทำให้งานออกแบบมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคเฉพาะของผู้ออกแบบของแต่ละบุคคลที่จะนำวัสดุและสื่อใหม่ๆมาถ่ายทอดให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด รู้จักเริ่มการคิดสิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่การลอกเลียนแบบและดัดแปลงบางอย่าง อาจเป็นผู้เริ่มต้นที่จะเอามาใช้เป็นผู้แรกๆ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเอาสิ่งต่างๆ ในอดีตกลับมาใช้ เช่น สีแรงๆ ภาษาที่เรียบง่าย การแต่งกาย เป็นต้น

การออกแบบกับการร่วมสมัยสิ่งสำคัญผู้ออกแบบต้องออกแบบที่มีความสดใหม่และทันสมัยตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เพราะปัจจุบัน งานออกแบบที่มีความแตกต่างไม่เหมือนใครจะมีส่วนช่วยในการสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นเช่นกัน งานออกแบบที่ดีจะช่วยให้สินค้าที่ธรรมดาหรือไม่มีความน่าสนใจขายได้ในทางกลับกัน งานออกแบบที่ไม่ดี ก็ทำลายสินค้าที่ดีได้เหมือนกัน.

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Objectified

ในอดีตที่ผ่านมา กระบวนการพัฒนา ยังมีการออกแบบที่ทำกันเป็นขั้นตอนซึ่งไอเดียใหม่ๆจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ จากนั้นนักออกแบบก็จะนำความคิดนั้นมาห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเพื่อกระตุ้นสายตาผู้คน แนวคิดนี้จะกระตุ้นการตลาดให้เติบโตออกไปได้ก็ต่อเมื่อมีการสร้างสินค้าใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดึงดูดใจลูกค้าได้อย่างงดงามและมีวิธีการกระตุ้นความอยากได้ของลูกค้าให้เพิ่มสูงขึ้น หรืออาจจะต้องเพิ่มการยอมรับในตราสินค้าให้มากขึ้น ด้วยการโฆษณา และใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อเร้าความรู้สึกของผู้คนให้เห็นถึงความทันสมัยของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

แต่ในปัจจุบันนั้นการออกแบบได้กลายมาเป็นสินทรัพย์ทางการแข่งขันที่เพิ่มยอดมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคประเภท สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และในอุตสาหกรรมสินค้าบริโภคอีกหลายๆ ประเภท แต่ในกลุ่มสินค้าอื่นๆส่วนใหญ่แล้วใช้การออกแบบเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น
ซึ่งปัจจุบันแทนที่บริษัทผู้ออกแบบจะใช้วิธีการเดิมๆ คือค้นหาไอเดียใหม่ๆ แล้วพัฒนาไอเดียนั้นขึ้นมา จากนั้นจึงใช้การออกแบบเป็นเครื่องดึงดูดใจผู้บริโภคบริษัทต้องใช้วิธีการให้นักออกแบบเองเป็นผู้สร้างไอเดียที่จะเป็นเครื่องตอบสนองความต้องการ และความอยากได้ของลูกค้า เราจะเห็นได้ชัดว่า บทบาทของนักออกแบบเดิมนั้นเป็นเพียงยุทธวิธีหนึ่งในการสร้างสินค้าและบริการ และผลลัพธ์ที่ได้ก็เพิ่มมูลค่าทางการเงินได้เพียงจำกัด แต่บทบาทช่วงหลังนี้การออกแบบได้กลายมาเป็นกลยุทธ์ ของการสร้างสินค้าและบริการ และยังเพิ่มมูลค่าทางการเงินให้สูงขึ้นได้

ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่หน้าสนใจ ที่นักออกแบบรุ่นใหม่ต้องหันมาตื่นตัวในการให้ความสำคัญ เกี่ยวกับการละเลยหน้าที่ในการออกแบบในการให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการหมุนเวียนของตัววัสดุ มากกว่าที่จะขายแต่ตัวไอเดียและภาพลักษณ์ของสินค้าเป็นส่วนใหญ่ นักคิดเชิงออกแบบสามารถนึกคิดถึงแนวทางแก้ปัญหาโดยต้องคำนึงถึงความอยากได้ และสนองตอบความต้องการที่แสดงออกมาชัดเจนและที่ซ่อนเร้นอยู่โดยใช้หลักการ “คนต้องมาก่อน” นักคิดเชิงออกแบบมักเป็นคนที่ชอบสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว และเก็บรายละเอียดได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่นักออกแบบในเมืองนอกสังเกตพบจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็น และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างยิ่งที่นักออกแบบไทยและนักออกแบบรุ่นใหม่ควรนำมาพึงปฏิบัติ และควรตระหนักกับผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Concept and Idea

ในทางปรัชญา concept คือ ภาพที่เกิดขึ้นในใจซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งหลายสิ่งที่ต่างกันแต่มีลักษณะ บางอย่างคล้ายกันอยู่ Concept ในภาษาไทยเรียกว่า มโนทัศน์ หมายถึง การคิดถึงหรือจิตนาการบางสิ่ง การเกิดแนวความคิด หรือ เกิดความเข้าใจต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งในความคิดของเรา


Concept คือ มวลความคิดที่ และสามารถจับต้องได้ผ่านความคิดของตัวเรา แต่การที่เราจะสามารถ เห็นภาพความคิดนั้น เราสามารถทำได้โดยการนำ Idea ไปจับเพื่อให้เกิดภาพ แล้วเราจะได้ Concept ที่สมารถต่อยอดความคิดให้เกิด Idea ต่างๆ ถ้าเกิดเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับ Concept ของสิ่งใดที่ดีแล้ว Concept นั้นจะสามารถ คงสภาพอยู่ ได้นาน และอาจทำให้เกิด Innovation ตามมาอีกด้วย ทุกอย่างบนโลกนั้นล้วนมี Concept อยู่ทั้งสิ้นแทบพูดได้ว่า ไม่มี Concept ใดที่ไม่เคยมีอยู่บนโลก แต่เราสามารถสร้าง Concept ใหม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับว่าตัวเราจะมีวิธีในการจับ ประเด็น Concept ต่างๆที่อยู่รอบตัวนั้นได้อย่างไรมากกว่า


Concept เป็นแกนความคิด ไม่สามารถสัมผัสได้ทางกายภาพ และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยรูปทรง ในทางกายภาพนั้นคุณสามารถจับต้องตัว Concept ได้โดยการนำ Idea นั้นไปอธิบายร่วมกับ Concept เพื่อความเข้าใจมากขึ้นจะนำเสนอตัวอย่างง่ายๆเพื่อให้เห็นภาพดังนี้ดินสอ Concept ของดินสอ คือ เครื่องมือที่ใช้บันทึก เราจะเห็นได้ว่า เครื่องมือที่ใช้บันทึกไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน แต่คุณสัมผัสมันและเห็นรูปทรงของ Concept ได้ด้วยตัวของเราเอง


Idea ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิด Concept เสมือนเป็นเป็นผู้สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้ความเป็นรูปธรรมที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่นั้น Idea มักจะมาก่อนConcept เพราะเรามักจะเกิดเสมือนแรงบันดาลใจ หรือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะสรรค์สร้างให้เกิดเป็นชิ้นงาน ตรงตามที่จินตนาการหรือนึกคิดเอาไว้ แต่ทั้งนี้เราก็ควรจะแยกแยะ Idea หรือจัดลำดับความสำคัญ เพื่อเลือก Idea ที่ดีที่สุดในการทำให้เกิดการสอดคล้องกับ Concept เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและสื่อสารต่อผู้รับสาร และตรงต่อจุดประสงค์และแนวทางที่ได้วางไว้ตั้งแต่ต้น

นี้ได้ด้วย ดินสอ


ทั้ง Concept และ Idea ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์งานออกแบบ ซึ่งนักออกแบบที่ดีก็ควรที่จะยึดและนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากจะทำให้มีกระบวนการคิดงานที่เป็นระบบแล้ว เป้าหมายที่เราคาดหวังไว้ก็จะออกมาสำเร็จลุล่วงตามแบบแผนที่วางไว้ได้ด้วยดี

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจวัตรกับกิจกรรม

กิจวัตรและกิจกรรม

หากพูดถึงกิจวัตรแล้วก็คงจะนึกถึงการกระทำกิจกรรมที่ซ้ำๆกันเป็นประจำทุกๆวัน ในที่นี้ของเราเองก็คือกิจวัตรที่ทำทุกเช้าก็คือตื่นขึ้นมาก็ มีการล้างหน้าแปรงฟัน รวมไปถึงการอาบน้ำและทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำตามลำดับ ทั้งนี้เวลาในการทำกิจวัตรก็ขึ้นอยู่กับความเร่งรีบ หรือความใส่ใจในรายละเอียดของการชำระล้างร่างกายของแต่ละคน รวมไปถึงการแต่งกาย อีกด้วย ทั้งนี้บางคนอาจมีกิจวัตรในแต่ละวันที่ต่างกัน เช่น การทำงาน การกินหรือการดำรงชีวิตที่ต่างกันขึ้นอยู่กับการปลูกฝังมาตั้งแต่ยังเด็ก หรือการเคยชินกับสิ่งที่ทำเป็นประจำทุกวัน

หลังจากเสร็จภารกิจในตอนเช้าทุกๆวันแล้ว สิ่งต่อมาที่เป็นกิจวัตรประจำก็คือการนั่งรถไปมหาลัย ซึ่งนั่นก็คือ ไปเรียนหนังสือ หรือไปหาความรู้นั่นเอง การเรียนของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป หรือบางคนก็อาจจะทำงานต้องไปผจญภัยและเอาชนะกับอุปสรรคในแต่ละวันกับที่ทำงาน และต้องหงุดหงิดกับการที่รถติดบนท้องถนนจนเป็นเรื่องที่ต้องชินไปแล้ว หลังเสร็จจากเลิกเรียนหรือเลิกงานแล้วบางคนอาจจะนั่งรอคอยความหวังอยู่บนรถ เนื่องจากรถที่ติดอีกแล้ว แต่ส่วนตัวเราแล้วหลังจากเลิกเรียนทุกวันก็จะออกกำลังกายกับเหล่าสุนัขที่บ้าน โดยจะวิ่งรอบๆบริเวณบ้าน ก่อนที่จะอาบน้ำรับประทานอาหาร และอ่านหนังสือก่อนนอน

ส่วนกิจกรรมในที่นี่คือการที่เราได้เรียนรู้และปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้ และเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์เพื่อให้มีความเข้าใจในตนเองและสังคมได้ดียิ่งขึ้น กิจกรรมอาจจะแสดงออกได้ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านสติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและจิตใจ ล้วนเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เรามีความรู้เพิ่มขึ้น โดยส่วนตัวแล้วการทำกิจกรรมของข้าพเจ้ามักกระทำในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา รวมถึงด้านดนตรี โดยเฉพาะการร้องเพลงรวมถึงการฟังเพลงซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ และคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายและทำให้มีสมาธิในการทำงานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการไปเดินช๊อปปิ้ง หรือไปเดินดูงานนิทรรศการศิลปะก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความคิดและเป็นการผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย

กิจวัตรและกิจกรรมจึงมีความต่างกันตรงที่มีการปฏิบัติที่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นโอกาส และการแสดงออกซึ่งจะเห็นได้ชัดว่ากิจกรรมมักจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ และเกิดการจดจำ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดความรู้มากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นสมองให้เกิดการพัฒนาทางด้านความคิด และปรับใช้เข้ากับตัวเองและสังคมต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Final Project Double Goose














Concept :

- ความเบา สบาย
- ขาว สะอาด บริสุทธ์
- รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับธรรมชาติ
























































วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

Centara Spa
White and Dark Chocolate


Homemade Soap
Buble Bath
Body Lotion
Sugar Scrub
Body Mask
Massage OilSweet Candle























วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552